ข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี
คำขวัญ | “ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนช่อนแม่ลา เทศกาลกินปลาประจำปี” |
วิสัยทัศน์ | "เมืองเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวิถีชีวิต สังคมอยู่เย็นเป็นสุข" |
ประเด็นยุทธศาสตร์ | 1.ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการเกษตรแบบครบวงจร 2.พัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว 3.พัฒนาคุณภาพชีวิตและทุนทางสังคม |
ที่ตั้ง | ละติจูด 14o-53’37’’ ลองติจูด 100o-23’48’’ พื้นที่ 822.478 ตร.กม. (514,049 ไร่) ห่างจาก กทม. 142 กม. |
เขตการปกครอง | 6 อำเภอ 43 ตำบล 364 หมู่บ้าน อบจ. 1 แห่ง อบต. 33 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 6 แห่ง |
ประชากร | 75,769 ครัวเรือน 201,088 คน ชาย 100,132 คน (47.66%) หญิง 109,956 คน (52.34%) |
เศรษฐกิจ | GPP 25,754 ล้านบาท อาชีพหลัก เกษตรกรรม (ข้าว ไร่อ้อย พืชผัก) |
การศึกษา | สพฐ. 129 แห่ง ครู N/A คน นร. 23,004 คน สช. 15 แห่ง ครู N/A คน นร. 6,070 คน ท้องถิ่น 7 แห่ง ครู N/A คน นร. 1,470 คน สอศ. 6 แห่ง ครู N/A คน นร. 3,023 คน กรมการศาสนา 6 คน ครู 195 นร. 446 คน รวม 163 แห่ง ครู 2,044 คน นร. 34,013 คน |
สาธารณะสุข | รพ. 7 แห่ง รพ.ชุมชน 6 แห่ง รพ.ส่งเสริมสุขภาพ 47 แห่ง |
ทรัพยากรธรรมชาติ | แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรี |
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ | วัดพิกุลทอง (หลวงพ่อแพ) วัดพระนอนจักสีห์วรวิหาร (ประเพณีตีข้าวบิณฑ์)วัดไทร ค่ายบางระจัน (วันวีรชนค่ายบางระจัน) วัดโพธิ์เก้าต้น พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ |
ผู้บริหาร ทีมงาน | ผวจ. นายสุทธา สายวาณิชย์ รอง ผวจ. นายประสงค์ คงเคารพธรรม รอง ผวจ. นายศิริชัย ศรีเหนี่ยง หน.สนง. นางเพชรี เขมวิรัตน์ ปลัดจังหวัด นายวิทิต ปิ่นนิกร |
ประเด็นการพัฒนา | จังหวัดสิงห์บุรี |
---|---|
ด้านเศรษฐกิจ | 1. โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี (จำนวน 24 หมู่บ้าน) 1.1 การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว (เส้นทางท่องเที่ยว การแสดง อาหาร) 1.2 การพัฒนาทักษะในการเป็นนักเล่าเรื่อง 1.3 การจัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยว 1.4 การสร้างคุณลักษณะการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 1.5 การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน (ตราสัญลักษณ์หมู่บ้าน บรรจุภัณฑ์) 1.6 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP (ประเภท C และประเภท D เพิ่มระดับขึ้น 1 ดาว) 2. พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษมัคคุเทศก์อาสา (เครือข่ายทุกอำเภอ) 3. พัฒนาผลผลิตทางการเกษตร (ข้าว กล้วย) |
ด้านสังคม | - |
ด้านสิ่งแวดล้อม | 1. ลดขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ |
ด้านทำนุศิลปะ วัฒนธรรม | - |
ด้านการศึกษา | 1. การพัฒนาเด็กเล็กและปฐมวัย 2. ผลคะแนน ONET ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย |
ประเด็น | แนวทาง | จังหวัดสิงห์บุรี |
---|---|---|
ด้านเศรษฐกิจ (ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) | โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี* 1. การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว - เส้นทางท่องเที่ยว - การแสดงศิลปะ วัฒนธรรมพื้นถิ่น - สำรับอาหาร ของกินหมู่บ้าน 2. การพัฒนาทักษะในการเป็นนักเล่าเรื่อง 3. การจัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยว 4. การสร้างคุณลักษณะการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 5. การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน - ตราสัญลักษณ์หมู่บ้าน - ภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม 6. พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP - พัฒนาผลิตภัณฑ์ - พัฒนามาตรฐานการผลิต - ออกแบบบรรจุภัณฑ์ - ช่องทางการตลาด | 1. บ้านหนองรี 2. บ้านโพทะเล 3. บ้านวัดฟูกใต้ 4. บ้านบางระจัน 5. บ้านถนนตก 6. บ้านจวนเก่า 7. บ้านชลอน 8. บ้านหัวป่า 9. บ้านหัวงิ้ว 10. บ้านโภคาภิวัฒน์ 11. บ้านวัดใหม่ 12. บ้านตาลเดี่ยวใต้ 13. บ้านไผ่ขวาง 14. บ้านบางโฉมศรี 15. บ้านลำเหนือ 16. บ้านวังขรณ์ 17. บ้านเชิงกลัด 18. บ้านเชิงกลัด 19. บ้านพิกุลทองสามัคคี 20. บ้านท่าช้าง 21. บ้านกระดีแดง 22. บ้านดอนกระต่าย 23. บ้านบางกระบือเหนือ 24. บ้านวัดหัวเมือง |
ด้านสังคม** | 1. การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย | - |
ด้านสิ่งแวดล้อม | 1. การจัดการขยะชุมชน 2. การลดการใช้ขยะพลาสติก | - |
ด้านการศึกษา | 1. พัฒนาครูศูนย์เด็กเล็ก 2. พัฒนาครูการศึกษาปฐมวัย 3. พัฒนาการสอนกลุ่มสาระวิชาเอก 4. พัฒนาทักษะการวิจัยทางการศึกษา | - |
หมายเหตุ * เป้าหมายหมู่บ้านนวัตวิถีของจังหวัด
** ประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ยังไม่มีรายละเอียดของประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
ข้อมูลแนวทางการพัฒนา
แนวทางการหารือร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมและผู้บริหารราชการจังหวัดสิงห์บุรีเกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสิงห์บุรีให้น่าอยู่ บ้านเมืองสะอาด ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความปลอดภัยในชีวิต จังหวัดสิงห์บุรีจึงขอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมพิจารณาประเด็นการดำเนินงาน โดยขอความร่วมมือทุกภาคส่วนงานในจังหวัดสิงห์บุรีให้ข้อมูลและพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมร่วมกัน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีและตัวทานจากส่วนราชการต่างๆ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยและจังหวัดสิงห์บุรี
ทั้งนี้ ผลการประชุมหารือเบื้องต้นกับจังหวัดชัยนาทและอ่างทอง พบลักษณะความต้องการและรูปแบบโครงการที่คล้ายคลึงกัน เช่น การพัฒนาโครงการนวัตวิถี การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว และโครงการแก้ปัญหาขยะ ดังนั้น แนวทางการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานกับจังหวัดสิงห์บุรีในเบื้องต้นจะสรุปกรอบการดำเนินงานในรูปแบบเดียวกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอ่างทอง
ทั้งนี้ ผลการประชุมหารือเบื้องต้นกับจังหวัดชัยนาทและอ่างทอง พบลักษณะความต้องการและรูปแบบโครงการที่คล้ายคลึงกัน เช่น การพัฒนาโครงการนวัตวิถี การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว และโครงการแก้ปัญหาขยะ ดังนั้น แนวทางการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานกับจังหวัดสิงห์บุรีในเบื้องต้นจะสรุปกรอบการดำเนินงานในรูปแบบเดียวกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอ่างทอง
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 2 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาท้องถิ่น และ 2) การผลิตและพัฒนาครู โดยมหาวิทยาลัยกำหนดกรอบการดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ 2) ด้านสังคม มุ่งเน้นประเด็นการผลิตและพัฒนาครู 3) ด้านสิ่งแวดล้อม และ 4) ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งการกำหนดแนวทางการดำเนินงานจะขออนุญาตรับข้อเสนอแนะจากตัวแทนส่วนราชการจังหวัดอ่างทองเพื่อนำประเด็นต่างๆ ไปสังเคราะห์วางแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป
จากการให้ข้อเสนอแนะจากตัวแทนส่วนราชการต่างๆ สามารถสรุปข้อเสนอแนะที่สำคัญได้ดังนี้ นายชานนท์ วงษ์พจนี ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีกล่าวว่า ท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีมีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 7 แห่ง พบปัญหาการขาดแคลนครู ครูผู้ช่วย และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้น ความต้องการเบื้องต้นคือประเด็นด้านครูเฉพาะทางที่เข้ามาช่วยพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งนายสุเมธี จันทร์หอม ศึกษาธิการจังหวัดกล่าวว่า ปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูนั้น การดำเนินการศึกษาธิการจังหวัดยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น ซึ่งการพัฒนาครูระดับประถมและมัธยมยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานและอยู่ระหว่างกระบวนการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยในระดับจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีการดำเนินงานโครงการอาสามัคคุเทศน์ ซึ่งปัญหาที่พบคือการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ โดยความรู้ในท้องถิ่นนั้นจะมีครูและผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ นางเพชรี เขมวิรัตน์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรีกล่าวว่า ด้านการเกษตรและด้านการท่องเที่ยว ปัญหาที่พบคือด้านการสร้างนวัตกรรมทั้งการผลิตสินค้าและกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ดังนั้น การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับจังหวัดสิงห์บุรีอาจต้องศึกษาและพิจารณาร่วมกันต่อไป นายวีรชัย บริบูรณ์ ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรีกล่าวว่า การพัฒนามาตรฐาน GAPซึ่งสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดได้มีการรวบรวมข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้ หากมหาวิทยาลัยต้องการสามารถติดต่อได้โดยตรงหรืออาจพิจารณาทำโครงการร่วมกัน นางสาวรุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดกล่าวว่า สิ่งที่เกษตรกรต้องการคือด้านการตลาด และกลไกด้านราคา มหาวิทยาลัยอาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มมูลค่า หรือการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มูลค่าของข้าวเพิ่มขึ้น ด้านไม้ผลและกล้วย มหาวิทยาลัยอาจเข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการวิจัยและพัฒนาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่
ทั้งนี้ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรีได้สอบถามเพิ่มเติมในประเด็นการดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอ่างทอง โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมชี้แจงว่าจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาระหว่างมหาวิทยาลัยกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอ่างทอง พบว่ามีกรอบแนวทางการดำเนินงานคล้ายกัน คือ 1) การดำเนินงานโครงการนวัตวิถีด้านการท่องเที่ยว 2) ด้านการศึกษา เรื่องสื่อการสอน เทคนิคการสอน การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและปฐมวัย 3) ด้านปัญหาขยะพลาสติก
นายศุภผล กองแดง พัฒนาการจังหวัดสิงห์บุรี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีของจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งกำหนดให้การดำเนินงานแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน 2561 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมอาจมีส่วนร่วมในการจัดวิทยากรที่มีความรู้ด้านการท่องเที่ยว การแสดงศิลปะชุมชน หรือการจัดสำรับอาหาร มาให้ความช่วยเหลือเยาวชน และประชาชนในหมู่บ้าน
ความน่าจะเป็นโครงการและงานวิจัยตามแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดสิงห์บุรี ตามแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ด้านการเกษตร คือการยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP และมาตรฐาน GAP ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น คือ การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษาวิถีชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี ด้านสังคม จัดทำโครงการครูพี่เลี้ยง, การพัฒนาและยกระดับครูรวมถึงศูนย์ดูแลเด็กเล็กและการศึกษาปฐมวัย ด้านสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการความร่วมมือการสร้างจิตสำนึก ลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ส่วนด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะยกระดับและเพิ่มมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมชุมชน
อธิการบดีได้กล่าวสรุปกรอบแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัยลงพื้นที่ให้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ซึ่งลักษณะการดำเนินงานจะเป็นการให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ และประสานงานกับผู้ปฏิบัติในจังหวัดสิงห์บุรีและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตามระยะเวลาที่เหมาะสม
จากการให้ข้อเสนอแนะจากตัวแทนส่วนราชการต่างๆ สามารถสรุปข้อเสนอแนะที่สำคัญได้ดังนี้ นายชานนท์ วงษ์พจนี ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีกล่าวว่า ท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรีมีโรงเรียนในสังกัด จำนวน 7 แห่ง พบปัญหาการขาดแคลนครู ครูผู้ช่วย และครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดังนั้น ความต้องการเบื้องต้นคือประเด็นด้านครูเฉพาะทางที่เข้ามาช่วยพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งนายสุเมธี จันทร์หอม ศึกษาธิการจังหวัดกล่าวว่า ปัญหาเรื่องการขาดแคลนครูนั้น การดำเนินการศึกษาธิการจังหวัดยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น ซึ่งการพัฒนาครูระดับประถมและมัธยมยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานและอยู่ระหว่างกระบวนการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยในระดับจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีการดำเนินงานโครงการอาสามัคคุเทศน์ ซึ่งปัญหาที่พบคือการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ โดยความรู้ในท้องถิ่นนั้นจะมีครูและผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ นางเพชรี เขมวิรัตน์ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรีกล่าวว่า ด้านการเกษตรและด้านการท่องเที่ยว ปัญหาที่พบคือด้านการสร้างนวัตกรรมทั้งการผลิตสินค้าและกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ดังนั้น การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับจังหวัดสิงห์บุรีอาจต้องศึกษาและพิจารณาร่วมกันต่อไป นายวีรชัย บริบูรณ์ ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรีกล่าวว่า การพัฒนามาตรฐาน GAPซึ่งสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัดได้มีการรวบรวมข้อมูลสำคัญต่างๆ ไว้ หากมหาวิทยาลัยต้องการสามารถติดต่อได้โดยตรงหรืออาจพิจารณาทำโครงการร่วมกัน นางสาวรุจีพัชร บุญจริง เกษตรจังหวัดกล่าวว่า สิ่งที่เกษตรกรต้องการคือด้านการตลาด และกลไกด้านราคา มหาวิทยาลัยอาจมีส่วนช่วยในการเพิ่มมูลค่า หรือการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้มูลค่าของข้าวเพิ่มขึ้น ด้านไม้ผลและกล้วย มหาวิทยาลัยอาจเข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการวิจัยและพัฒนาในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่
ทั้งนี้ หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสิงห์บุรีได้สอบถามเพิ่มเติมในประเด็นการดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอ่างทอง โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมชี้แจงว่าจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาระหว่างมหาวิทยาลัยกับจังหวัดชัยนาทและจังหวัดอ่างทอง พบว่ามีกรอบแนวทางการดำเนินงานคล้ายกัน คือ 1) การดำเนินงานโครงการนวัตวิถีด้านการท่องเที่ยว 2) ด้านการศึกษา เรื่องสื่อการสอน เทคนิคการสอน การพัฒนาศูนย์เด็กเล็กและปฐมวัย 3) ด้านปัญหาขยะพลาสติก
นายศุภผล กองแดง พัฒนาการจังหวัดสิงห์บุรี ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีของจังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งกำหนดให้การดำเนินงานแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายน 2561 ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมอาจมีส่วนร่วมในการจัดวิทยากรที่มีความรู้ด้านการท่องเที่ยว การแสดงศิลปะชุมชน หรือการจัดสำรับอาหาร มาให้ความช่วยเหลือเยาวชน และประชาชนในหมู่บ้าน
ความน่าจะเป็นโครงการและงานวิจัยตามแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดสิงห์บุรี ตามแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ด้านการเกษตร คือการยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP และมาตรฐาน GAP ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น คือ การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษาวิถีชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี ด้านสังคม จัดทำโครงการครูพี่เลี้ยง, การพัฒนาและยกระดับครูรวมถึงศูนย์ดูแลเด็กเล็กและการศึกษาปฐมวัย ด้านสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการความร่วมมือการสร้างจิตสำนึก ลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก ส่วนด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะยกระดับและเพิ่มมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมชุมชน
อธิการบดีได้กล่าวสรุปกรอบแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมโดยใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัยลงพื้นที่ให้ความรู้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ซึ่งลักษณะการดำเนินงานจะเป็นการให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ และประสานงานกับผู้ปฏิบัติในจังหวัดสิงห์บุรีและรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตามระยะเวลาที่เหมาะสม