ข้อมูลจังหวัดอ่างทอง
คำขวัญ | “พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน” |
วิสัยทัศน์ | “อ่างทองเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว แหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย” |
ประเด็นยุทธศาสตร์ | 1. พัฒนาเมืองน่าอยู่ สู่สังคมมั่นคง และเป็นสุข 2. พัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐานสากล 3. ส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม |
ที่ตั้ง | ละติจูด 14o-35’12’’ ลองติจูด 100o-27’32’’ พื้นที่ 968.37 ตร.กม. (613,120 ไร่) ห่างจาก กทม. 108 กม. |
เขตการปกครอง | 7 อำเภอ 73 ตำบล 513 หมู่บ้าน อบจ. 1 แห่ง อบต. 43 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 20 แห่ง |
ประชากร | 97,915 ครัวเรือน 281,296 คน ชาย 134,914 คน (47.96%) หญิง 146,382 คน (52.04%) |
เศรษฐกิจ | GPP 25,411 ล้านบาท อาชีพหลัก เกษตรกรรม (ข้าว มะม่วง พืชผัก) |
การศึกษา | สพฐ. 194 แห่ง ครู 1,929 คน นร. 32,423 คน สช. 157 แห่ง ครู 241 คน นร. 4,212 คน ท้องถิ่น 9 แห่ง ครู 250 คน นร. 3,715 คน สอศ. 4 แห่ง ครู 132 คน นร. 908 คน รวม 364 แห่ง ครู 2,552 คน นร. 41,258 คน |
สาธารณะสุข | รพ. 1 แห่ง รพ.ชุมชน 6 แห่ง รพ.ส่งเสริมสุขภาพ 76 แห่ง |
ทรัพยากรธรรมชาติ | แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย |
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ | วัดม่วง (พระใหญ่ที่สุด โบสถ์ใหญ่ที่สุดในโลก) วัดขุนอินทประมูล (พระนอนใหญ่ที่สุดในไทย) วัดจันทรังษี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) วัดป่าโมกวรวิหาร (พระนอนสวยที่สุด) วัดไชโยวรวิหาร (พระสมเด็จเกษไชโย) |
ผู้บริหาร ทีมงาน | ผวจ.นายวีร์รวุทธ์ ปุตระเศรณี รอง ผวจ. นายประมวล มุ่งมาตร รอง ผวจ. นายรัฐฐะ สิริธรังศรี หน.สนง. นางสาวชไมพร อำไพจิตร ปลัดจังหวัด นายสมยศ พุ่มน้อย |
ประเด็นการพัฒนา | จังหวัดอ่างทอง |
---|---|
ด้านเศรษฐกิจ | 1. โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี (จำนวน 29 หมู่บ้าน) 1.1 การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว (เส้นทางท่องเที่ยว การแสดง อาหาร) 1.2 การพัฒนาทักษะในการเป็นนักเล่าเรื่อง 1.3 การจัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยว 1.4 การสร้างคุณลักษณะการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 1.5 การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน (ตราสัญลักษณ์หมู่บ้าน บรรจุภัณฑ์) 1.6 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP (ประเภท C และประเภท D เพิ่มระดับขึ้น 1 ดาว) |
ด้านสังคม | 1. สังคมสูงอายุ 1.1 การพัฒนาระบบบริหารจัดการ 1.2 การวิจัยด้านผู้สูงอายุในจังหวัด |
ด้านสิ่งแวดล้อม | 1. การลดปริมาณขยะพลาสติก |
ด้านทำนุศิลปะ วัฒนธรรม | 1. การพัฒนาศิลปะพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยว |
ด้านการศึกษา | 1. การขาดแคลนครู 2. ครูผู้สอนไม่ตรงตามรายวิชา 3. ผลคะแนน ONET ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 4. การพัฒนาเด็กเล็กและปฐมวัย 5. การพัฒนาทักษะการวิจัยของครู |
ประเด็น | แนวทาง | จังหวัดอ่างทอง |
---|---|---|
ด้านเศรษฐกิจ (ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม) | โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี* 1. การออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว - เส้นทางท่องเที่ยว - การแสดงศิลปะ วัฒนธรรมพื้นถิ่น - สำรับอาหาร ของกินหมู่บ้าน 2. การพัฒนาทักษะในการเป็นนักเล่าเรื่อง 3. การจัดทำแผนธุรกิจการท่องเที่ยว 4. การสร้างคุณลักษณะการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 5. การสร้างอัตลักษณ์ชุมชน - ตราสัญลักษณ์หมู่บ้าน - ภูมิทัศน์ สถาปัตยกรรม 6. พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP - พัฒนาผลิตภัณฑ์ - พัฒนามาตรฐานการผลิต - ออกแบบบรรจุภัณฑ์ - ช่องทางการตลาด | 1. บ้านหัวไผ่ หมู่ 6 2. บ้านหัวไผ่ หมู่ 9 3. บ้านศาลาแดง 4. บ้านคลองวัว 5. บ้านมหาดไทย 6. บ้านเทวราช 7. บ้านราชสถิต 8. บ้านไชโย 9. บ้านสายทอง 10. บ้านนรสิงห์ 11. บ้านบางเสด็จ 12. บ้านเอกราช 13. บ้านอินทประมูล 14. บ้านคำหยาด 15. บ้านรำมะสัก หมู่ 5 16. บ้านรำมะสัก หมู่ 12 17. บ้านบางพลับ 18. บ้านสีบัวทอง หมู่ 3 19. บ้านสีบัวทอง หมู่ 4 20. บ้านแสงหา 21. บ้านวังน้ำเย็น 22. บ้านหัวตะพาน 23. บ้านม่วงเตี้ย 24. บ้านศาลเจ้าโรงทอง 25. บ้านไผ่จำศีล 26. บ้านสี่ร้อย 27. บ้านสามโก้ 28. บ้านอบทม 29. บ้านมงคลธรรมนิมิต |
ด้านสังคม** | 1. การดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย | - |
ด้านสิ่งแวดล้อม | 1. การจัดการขยะชุมชน 2. การลดการใช้ขยะพลาสติก | - |
ด้านการศึกษา | 1. พัฒนาครูศูนย์เด็กเล็ก 2. พัฒนาครูการศึกษาปฐมวัย 3. พัฒนาการสอนกลุ่มสาระวิชาเอก 4. พัฒนาทักษะการวิจัยทางการศึกษา | - |
หมายเหตุ * เป้าหมายหมู่บ้านนวัตวิถีของจังหวัด
** ประเด็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ยังไม่มีรายละเอียดของประเด็นปัญหาและกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
ข้อมูลแนวทางการพัฒนา
จังหวัดอ่างทองรู้สึกยินดีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาจังหวัดอ่างทองร่วมกัน แต่เนื่องจากประธานที่ประชุมจะหมดวาระการปฏิบัติงานใน 3 เดือน ดังนั้นในการพัฒนาความร่วมมือจึงมอบหมายให้นายประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจเป็นผู้รับผิดชอบและประสานการดำเนินงานต่อไป
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูล ได้มีพระราโชบายด้านการศึกษาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่งใช้ศักยภาพและความเชี่ยวชาญของตนในการลงพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายรับผิดชอบของแต่ละมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีองคมนตรีดาว์พงษ์ สุวรรณรัตน์เป็นผู้เข้ามาดูแลและติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง ซึ่งลักษณะการกำหนดพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยราชภัฏจะระบุหมู่บ้านในพื้นที่ที่ประสบปัญหา เช่น หมู่บ้านที่มีปัญหาการอ่านออก-เขียนได้ของเยาวชน เป็นต้น ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏอาจต้องใช้ระยะเวลาในการลงพื้นที่สำรวจและตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว จากตัวอย่างจากลงพื้นที่จังหวัดชัยนาทซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้เข้าไปจัดตั้งศูนย์การศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท ชัยนาท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 18 ปีได้ลงพื้นที่ช่วยประชาชนในพื้นที่ เช่น โครงการโรงเรียนพี่เลี้ยง และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านต่างๆ เป็นต้น
จังหวัดอ่างทองมีความหลากหลายทางพื้นที่ ประกอบด้วย 7 อำเภอ 73 ตำบล 513 หมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 20 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 44 แห่ง ดังนั้น การดำเนินงานเบื้องต้นอาจกำหนดเป็นอำเภอละ 1 ประเด็น ข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญ คือ จังหวัดอ่างทองไม่ใช่จังหวัดที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เนื้อที่ 605,232.5 ไร่ และมีพื้นที่ราบลุ่ม จังหวัดอ่างทองในปัจจุบันมุ่งเน้นการเป็นครัวสุขภาพเพื่อเมืองมหานคร ลักษณะการผลิตอาหารเป็นการผลิตอาหารสุขภาพสู่เมืองหลวง มีแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยที่เน้นผักและผลไม้เป็นหลัก และมีการประมงเป็นปัจจัยสนับสนุน
นอกจากนี้ข้อมูลสำคัญที่มหาวิทยาลัยอาจนำไปพิจารณาประกอบด้วย 1)ด้านเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดอ่างทองได้รับงบประมาณร่วมกับจังหวัดชัยนาทและสิงห์บุรี จำนวนประมาณ 800-900 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านครัวสุขภาพเพื่อเมืองมหานคร โดยจังหวัดอ่างทองมุ่งเน้นการปลูกผักและผลไม้ 2)การปรับพื้นที่เพื่อการปลูกผักและผลไม้ จังหวัดอ่างทองใช้งบประมาณจำนวน 70 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรมให้มีน้ำเพียงพอและส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 ปี ทั้งนี้เพื่อมีวัตถุประสงค์คือการปลูกผักและผลไม้ที่ได้รับมาตรฐาน GAP 3)ปัญหาด้านการขายและการตลาด จังหวัดอ่างทองใช้กลไกตลาดประชารัฐ เข้ามาช่วยในด้านการตลาด การเงิน การขนส่งและโลจิสติกส์ และได้ทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลในจังหวัดเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มาตรฐาน GAP 4)การท่องเที่ยวเป็นเป็นแหล่งรายได้สำคัญของจังหวัดอ่างทอง โดยจังหวัดอ่างทองมีวัดมากกว่า 200 แห่ง ซึ่งเป็นจุดแข็งในการดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น วัดม่วง วัดขุนอินประมูล วัดป่าโมกวรวิหาร วัดไชโยวรวิหาร และวัดจันทรังษี เป็นต้น 5)จังหวัดอ่างทองมีโครงการตัวอย่าง ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ 3 โครงการ คือ โครงการฟาร์มตัวอย่างของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ จำนวน 2 ฟาร์ม และโครงการแก้มลิง “หนองเจ็ดเส้น” อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ 6)โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิธี มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับมาตรฐานหรือดาวจาก OTOP ที่ประสบปัญหาขายสินค้าไม่ได้ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น จะให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมพัฒนาสูตรและมอบให้กับชาวบ้านไปดำเนินการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการขายสินค้าช่องทางออนไลน์ 7)ปัญหาน้ำท่วม เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้รับงบประมาณจากโยธาเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งจังหวัดอ่างทองได้มีแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้นแล้ว 8)ปัญหาด้านสังคม เกิดจากคนยากจนจำนวนมาก ปัญหาการศึกษาที่มาจากการขาดแคลนครู เนื่องจากโรงเรียนส่วนมากมีขนาดเล็ก ไม่สามารถเพิ่มจำนวนครูได้และประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมให้ยุบโรงเรียน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวสรุปแนวทางที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองให้ข้อเสนอแนะว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยในจังหวัดชัยนาทมีความสอดคล้องกับประเด็นของจังหวัดอ่างทอง เช่น การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน การยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการประชารัฐไทยนิยมยั่งยืน และการจัดทำสื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมหรือ TLTV ซึ่งองคมนตรีพลเอกดาวพงษ์ สุวรรณรัฐ มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งจัดทำสื่อการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนขนาดเล็กต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
นอกจากนี้ข้อมูลสำคัญที่มหาวิทยาลัยอาจนำไปพิจารณาประกอบด้วย 1)ด้านเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดอ่างทองได้รับงบประมาณร่วมกับจังหวัดชัยนาทและสิงห์บุรี จำนวนประมาณ 800-900 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านครัวสุขภาพเพื่อเมืองมหานคร โดยจังหวัดอ่างทองมุ่งเน้นการปลูกผักและผลไม้ 2)การปรับพื้นที่เพื่อการปลูกผักและผลไม้ จังหวัดอ่างทองใช้งบประมาณจำนวน 70 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงพื้นที่เกษตรกรรมให้มีน้ำเพียงพอและส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน 6 ปี ทั้งนี้เพื่อมีวัตถุประสงค์คือการปลูกผักและผลไม้ที่ได้รับมาตรฐาน GAP 3)ปัญหาด้านการขายและการตลาด จังหวัดอ่างทองใช้กลไกตลาดประชารัฐ เข้ามาช่วยในด้านการตลาด การเงิน การขนส่งและโลจิสติกส์ และได้ทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลในจังหวัดเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มาตรฐาน GAP 4)การท่องเที่ยวเป็นเป็นแหล่งรายได้สำคัญของจังหวัดอ่างทอง โดยจังหวัดอ่างทองมีวัดมากกว่า 200 แห่ง ซึ่งเป็นจุดแข็งในการดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น วัดม่วง วัดขุนอินประมูล วัดป่าโมกวรวิหาร วัดไชโยวรวิหาร และวัดจันทรังษี เป็นต้น 5)จังหวัดอ่างทองมีโครงการตัวอย่าง ซึ่งเป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ 3 โครงการ คือ โครงการฟาร์มตัวอย่างของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ฯ จำนวน 2 ฟาร์ม และโครงการแก้มลิง “หนองเจ็ดเส้น” อันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ 6)โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิธี มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับมาตรฐานหรือดาวจาก OTOP ที่ประสบปัญหาขายสินค้าไม่ได้ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น จะให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมพัฒนาสูตรและมอบให้กับชาวบ้านไปดำเนินการผลิต เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งเสริมการขายสินค้าช่องทางออนไลน์ 7)ปัญหาน้ำท่วม เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดอ่างทอง ซึ่งได้รับงบประมาณจากโยธาเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งจังหวัดอ่างทองได้มีแนวทางการแก้ปัญหาเบื้องต้นแล้ว 8)ปัญหาด้านสังคม เกิดจากคนยากจนจำนวนมาก ปัญหาการศึกษาที่มาจากการขาดแคลนครู เนื่องจากโรงเรียนส่วนมากมีขนาดเล็ก ไม่สามารถเพิ่มจำนวนครูได้และประชาชนในพื้นที่ไม่ยอมให้ยุบโรงเรียน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กล่าวสรุปแนวทางที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองให้ข้อเสนอแนะว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยในจังหวัดชัยนาทมีความสอดคล้องกับประเด็นของจังหวัดอ่างทอง เช่น การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน การยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP โครงการประชารัฐไทยนิยมยั่งยืน และการจัดทำสื่อการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมหรือ TLTV ซึ่งองคมนตรีพลเอกดาวพงษ์ สุวรรณรัฐ มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งจัดทำสื่อการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนขนาดเล็กต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้แนะนำคณะผู้บริหารและคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นำเสนอแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏที่สอดคล้องกับข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญของจังหวัดอ่างทองเบื้องต้น ประกอบด้วย 1) ด้านเศรษฐกิจ มุ่งเน้นการพัฒนาครัวสุขภาพ เส้นทางการท่องเที่ยว และยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP 2) ด้านสังคม มุ่งเน้นด้านการศึกษา 3) ด้านสิ่งแวดล้อม และ 4) ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ทั้งนี้ การกำหนดแนวทางการดำเนินงานจะขออนุญาตรับข้อเสนอแนะจากตัวแทนส่วนราชการจังหวัดอ่างทองเพื่อนำประเด็นต่างๆ ไปสังเคราะห์วางแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมต่อไป
จากการให้ข้อเสนอแนะจากตัวแทนส่วนราชการต่างๆ สามารถสรุปข้อเสนอแนะที่สำคัญได้ดังนี้ นายสมยศ พุ่มน้อย ปลัดจังหวัดอ่างทอง รับผิดชอบด้านความมั่นคงและความเรียบร้อย นำเสนอประเด็นความเสี่ยงด้านยาเสพติด และการดำเนินงานโครงการครูพี่เลี้ยง นอกจากนี้ยังเสนอประเด็นด้านการเกษตร เช่น นมแพะ การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนามาตรฐานสินค้า OTOP การแก้ปัญหาครู เป็นต้น ด้านสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท ได้เสนอประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงาน 5 ประเด็น คือ 1) สถานที่ หมู่บ้านและชุมชนท่องเที่ยวมีความสะอาดเรียบร้อย 2) ผลิตภัณฑ์และผลผลิตจากวัฒนธรรมหรือภูมิปํญญา 3) คนเน้นการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 4) การสร้างอัตลักษณ์ ค้นหาอัตลักษณ์ชุมชนและ 5) การตลาดและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีเป้าหมาย 29 หมู่บ้าน ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้ นายประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีโครงการหมู่บ้านนวัตวิถี ซึ่งจังหวัดอ่างทองมีหมู่บ้าน OTOP ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ มีอาชีพพระราชทาน คือ ตุ๊กตาชาววัง และหมู่บ้านเอกราช ที่ผลิต สร้างและซ่อมกลองมากที่สุดในประเทศไทย และด้านการเกษตรมีประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดอ่างทองกว่า 560,000 ไร่ กว่า 400,000 ไร่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร และใช้ปลูกข้าวกว่า 290,000 ไร่ สามารถผลิตข้าวได้ 800 กิโลกรัมต่อหนึ่งไร่ ดังนั้น จังหวัดอ่างทองจึงเป็นจังหวัดที่ผลิตข้าวส่งออกไปยังภาคส่วนต่างๆ จำนวนมากในหนึ่งฤดูกาล ทางด้านสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง นายสุดใจ มอญรัต ได้กล่าวว่า ปัญหาหลักของจังหวัดอ่างทองคล้ายกับจังหวัดชัยนาทคือโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนนักเรียนไม่มาก ซึ่งชุมชนและท้องถิ่นแสดงความประสงค์ไม่ให้ยุบโรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ครูไม่ครบชั้น และวิชาเอกของครูผู้สอนไม่ตรงตามรายวิชาที่ต้องสอน โดยเฉพาะรายวิชาหลัก นอกจากนี้ปัญหาด้านคะแนน ONET ทางภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยผลการวิเคราะห์ปัญหามีสาเหตุจากครูผู้สอนเช่นกัน ทั้งนี้ วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ การใช้ระบบ TLTV และ DLIT ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนครู ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนขนาดเล็ก นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย 1) การจัดการศึกษาปฐมวัย 2) การบริหารจัดการ เช่น การพัฒนาครู คูปองการพัฒนาครู 3) การทำวิจัยซึ่งเป็นปัญหาของครูในจังหวัดซึ่งไม่ได้จบด้านการวิจัย จึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเป็นพี่เลี้ยงในการทำวิจัย ด้านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวน้ำค้าง คันธรักษ์ ได้กล่าวว่า จังหวัดอ่างทองมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนมาก เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังคือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ ปัญหาคือความพร่องของสวัสดิการ ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกองทุนสวัสดิการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ นอกจากนี้ การผลิตสินค้าที่เกษตรกรได้รับรายได้น้อยเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันพิจารณาว่าการดำเนินงานในปัจจุบันตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่ จึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเข้ามามีส่วนช่วยในการวางระบบบริหารจัดการที่เหมาะสม และรองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจังหวัดอ่างทองมีข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในการดำเนินการต่อไปนางสาวมาลี ศรีรัตนธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ปัญหาด้านการบริหารจัดการที่พบคือ จังหวัดอ่างทองต้องรับภาระขยะจาก 2 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี และประเด็นที่จังหวัดอ่างทองจะขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมคือประเด็นการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนให้เกิดความร่วมมือกัน ทำกิจกรรมลดการใช้ถุงพลาสติก ลดปริมาณการใช้ลง นายบุริศร์ กาบเครือ ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่าปัญหาการดำเนินงานของจังหวัดอ่างทองคือ การประสานงานระหว่างส่วนราชการและส่วนท้องถิ่น ยังไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเก็บข้อมูลพื้นฐานซึ่งท้องถิ่น จึงต้องการความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในการพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ประเด็นการพัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดบุคลากรในการดูแลเด็กจึงอาจขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในการแก้ปัญหาดังกล่าว นายสมพิศ พูลสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่พบคือ การปลูกข้าวของเกษตรกรซึ่งมีการดำเนินงานร่วมกับนักวิชาการ แต่เกษตรกรมักจะไม่ฟังข้อเสนอแนะของนักวิชาการ และไม่ปฏิบัติตามนอกจากนี้งานครัวสุขภาพ พบปัญหาด้านกระบวนการ คือ ขาดบุคลากรในการซื้อขายสินค้า และปัญหาที่พบด้านการบริหารจัดการคือเกษตรกรผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เอง และระบบสหกรณ์ที่พบปัญหาการทุจริตที่แฝงปัญหาด้านระเบียบวินัย จึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ความน่าจะเป็นโครงการและงานวิจัยตามแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยจะพัฒนายกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์การเกษตร รวมถึงการพัฒนาตราผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งจะพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษาวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดอ่างทอง 2)ด้านสังคม จัดทำโครงการครูพี่เลี้ยง, โครงการยกระดับบุคลากร และโครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางไกลเพื่อแก้ปัญหาครูขาดชั้นเรียน 3)ด้านสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการความร่วมมือสร้างจิตสำนึก ลด ละ เลิกการใช้พลาสติก 4)ด้านศิลปะและวัฒนธรรม การยกระดับและเพิ่มมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน
จากการให้ข้อเสนอแนะจากตัวแทนส่วนราชการต่างๆ สามารถสรุปข้อเสนอแนะที่สำคัญได้ดังนี้ นายสมยศ พุ่มน้อย ปลัดจังหวัดอ่างทอง รับผิดชอบด้านความมั่นคงและความเรียบร้อย นำเสนอประเด็นความเสี่ยงด้านยาเสพติด และการดำเนินงานโครงการครูพี่เลี้ยง นอกจากนี้ยังเสนอประเด็นด้านการเกษตร เช่น นมแพะ การพัฒนาท้องถิ่น การพัฒนามาตรฐานสินค้า OTOP การแก้ปัญหาครู เป็นต้น ด้านสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท ได้เสนอประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงาน 5 ประเด็น คือ 1) สถานที่ หมู่บ้านและชุมชนท่องเที่ยวมีความสะอาดเรียบร้อย 2) ผลิตภัณฑ์และผลผลิตจากวัฒนธรรมหรือภูมิปํญญา 3) คนเน้นการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 4) การสร้างอัตลักษณ์ ค้นหาอัตลักษณ์ชุมชนและ 5) การตลาดและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีเป้าหมาย 29 หมู่บ้าน ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จได้ นายประมวล มุ่งมาตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีโครงการหมู่บ้านนวัตวิถี ซึ่งจังหวัดอ่างทองมีหมู่บ้าน OTOP ที่ได้รับรางวัลระดับประเทศ มีอาชีพพระราชทาน คือ ตุ๊กตาชาววัง และหมู่บ้านเอกราช ที่ผลิต สร้างและซ่อมกลองมากที่สุดในประเทศไทย และด้านการเกษตรมีประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากพื้นที่จังหวัดอ่างทองกว่า 560,000 ไร่ กว่า 400,000 ไร่เป็นพื้นที่ทำการเกษตร และใช้ปลูกข้าวกว่า 290,000 ไร่ สามารถผลิตข้าวได้ 800 กิโลกรัมต่อหนึ่งไร่ ดังนั้น จังหวัดอ่างทองจึงเป็นจังหวัดที่ผลิตข้าวส่งออกไปยังภาคส่วนต่างๆ จำนวนมากในหนึ่งฤดูกาล ทางด้านสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอ่างทอง นายสุดใจ มอญรัต ได้กล่าวว่า ปัญหาหลักของจังหวัดอ่างทองคล้ายกับจังหวัดชัยนาทคือโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งมีจำนวนนักเรียนไม่มาก ซึ่งชุมชนและท้องถิ่นแสดงความประสงค์ไม่ให้ยุบโรงเรียนขนาดเล็กดังกล่าว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ครูไม่ครบชั้น และวิชาเอกของครูผู้สอนไม่ตรงตามรายวิชาที่ต้องสอน โดยเฉพาะรายวิชาหลัก นอกจากนี้ปัญหาด้านคะแนน ONET ทางภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยผลการวิเคราะห์ปัญหามีสาเหตุจากครูผู้สอนเช่นกัน ทั้งนี้ วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น คือ การใช้ระบบ TLTV และ DLIT ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนครู ดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนขนาดเล็ก นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย 1) การจัดการศึกษาปฐมวัย 2) การบริหารจัดการ เช่น การพัฒนาครู คูปองการพัฒนาครู 3) การทำวิจัยซึ่งเป็นปัญหาของครูในจังหวัดซึ่งไม่ได้จบด้านการวิจัย จึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเป็นพี่เลี้ยงในการทำวิจัย ด้านสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นางสาวน้ำค้าง คันธรักษ์ ได้กล่าวว่า จังหวัดอ่างทองมีจำนวนผู้สูงอายุจำนวนมาก เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังคือ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง คนพิการ ปัญหาคือความพร่องของสวัสดิการ ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกองทุนสวัสดิการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ นอกจากนี้ การผลิตสินค้าที่เกษตรกรได้รับรายได้น้อยเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ต้องร่วมกันพิจารณาว่าการดำเนินงานในปัจจุบันตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่ จึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเข้ามามีส่วนช่วยในการวางระบบบริหารจัดการที่เหมาะสม และรองผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทองให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจังหวัดอ่างทองมีข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยในการดำเนินการต่อไปนางสาวมาลี ศรีรัตนธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ปัญหาด้านการบริหารจัดการที่พบคือ จังหวัดอ่างทองต้องรับภาระขยะจาก 2 จังหวัด คือ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสิงห์บุรี และประเด็นที่จังหวัดอ่างทองจะขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมคือประเด็นการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนให้เกิดความร่วมมือกัน ทำกิจกรรมลดการใช้ถุงพลาสติก ลดปริมาณการใช้ลง นายบุริศร์ กาบเครือ ผู้แทนท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่าปัญหาการดำเนินงานของจังหวัดอ่างทองคือ การประสานงานระหว่างส่วนราชการและส่วนท้องถิ่น ยังไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเก็บข้อมูลพื้นฐานซึ่งท้องถิ่น จึงต้องการความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในการพัฒนารูปแบบการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ประเด็นการพัฒนาเด็กเล็กในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดบุคลากรในการดูแลเด็กจึงอาจขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในการแก้ปัญหาดังกล่าว นายสมพิศ พูลสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า ปัญหาสำคัญที่พบคือ การปลูกข้าวของเกษตรกรซึ่งมีการดำเนินงานร่วมกับนักวิชาการ แต่เกษตรกรมักจะไม่ฟังข้อเสนอแนะของนักวิชาการ และไม่ปฏิบัติตามนอกจากนี้งานครัวสุขภาพ พบปัญหาด้านกระบวนการ คือ ขาดบุคลากรในการซื้อขายสินค้า และปัญหาที่พบด้านการบริหารจัดการคือเกษตรกรผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เอง และระบบสหกรณ์ที่พบปัญหาการทุจริตที่แฝงปัญหาด้านระเบียบวินัย จึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ความน่าจะเป็นโครงการและงานวิจัยตามแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วย 4 ด้าน 1) ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยจะพัฒนายกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์การเกษตร รวมถึงการพัฒนาตราผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งจะพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และศึกษาวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดอ่างทอง 2)ด้านสังคม จัดทำโครงการครูพี่เลี้ยง, โครงการยกระดับบุคลากร และโครงการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางไกลเพื่อแก้ปัญหาครูขาดชั้นเรียน 3)ด้านสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการความร่วมมือสร้างจิตสำนึก ลด ละ เลิกการใช้พลาสติก 4)ด้านศิลปะและวัฒนธรรม การยกระดับและเพิ่มมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน