รายงานการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
กองนโยบายและแผน
1. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการ ในขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้
1.1 พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ. ....
1.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
1.3 พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ....
1.4 พระราชบัญญัติการวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
2. การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
จากการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นสำคัญของร่างข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การจัดตั้งกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่มีความเชื่อมโยงกับการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ. ....
ข้อกฎหมาย |
ความเชื่อมโยงกับ มจษ. |
เหตุผลเพื่อให้มีส่วนราชการรับผิดชอบภารกิจ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยที่ผสมผสานองค์ ความรู้ในศาสตร์ทุกแขนง เพื่อสรรสร้างนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษามีความ เป็นอิสระในทางวิชาการและมีความคล่องตัวในการ บริหารจัดการ วางแผน ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย และการสรรสร้างนวัตกรรมที่ สอดคล้องกับความ ต้องการของประเทศ พัฒนาโครงสร้างทางนิเวศน์ที่ เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่การอุดมศึกษา การวิจัย และการสรรสร้างนวัตกรรม |
มีความเป็นอิสระในทางวิชาการและมีความคล่องตัวใน การบริหารจัดการ มีโครงสร้างทางนิเวศน์ที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การวิจัย และสรรสร้าง นวัตกรรมสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ |
ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้เป็น (6/1) ของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 “(6/1) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม” |
ชื่อกระทรวงใหม่ สังกัดกระทรวงใหม่ |
มาตรา 17/1 กระทรวงการ อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้าง นวัตกรรมให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ฯ |
อยู่ภายใต้การส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมให้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงของโลก |
“มาตรา 40 กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ และทุกประเภทและการอาชีวศึกษาแต่ไม่รวมถึง การศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ฯ” |
ขาดจาก การส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ |
มาตรา 16/1 ให้โอนบรรดา อำนาจ หน้าที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการฯ ไปเป็น อำนาจ หน้าที่ ของ สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมฯ
|
อำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สินฯ ของ สกอ. เปลี่ยนเป็น ของสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ความเชื่อมโยงของ มจษ . กับ สกอ. ในอดีตและอนาคต จะขึ้นกับสำนักงานปลัด กระทรวงฯ |
มาตรา 22/1 ให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่ที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติฯ ของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาไปเป็นอำนาจหน้าที่ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
อำนาจหน้าที่ที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ เกี่ยวข้อง เปลี่ยนเป็นอำนาจหน้าที่ของ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ความเชื่อมโยงของ มจษ. กับ รมต. กระทรวงศึกษาที่การในส่วนที่เกี่ยวข้อง ในอดีตและ อนาคต จะขึ้นกับ รมต. กระทรวงฯ ใหม่ |
มาตรา 24 ในวาระเริ่มแรก ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีส่วน ราชการดังต่อไปนี้ ฯ
|
ช่วงของการเปลี่ยนผ่านยังคงขึ้นกับ สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จนกว่าจะมีการแบ่งส่วน ราชการใหม่ |
2.2 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
ข้อกฎหมาย |
ความเชื่อมโยงกับ มจษ. |
เหตุผลเพื่อกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ชัดเจน และจัดระบบบริหารราชการให้มีเอกภาพและมี ประสิทธิภาพฯ |
มจษ. เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกระทรวงการอุดมศึกษาฯ |
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เฉพาะใน ส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการการอุดมศึกษาฯ |
การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการการอุดมศึกษาฯ ยกเลิกเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ |
มาตรา 5 ให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดินและกฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติ มาใช้บังคับแก่กระทรวงการอุดมศึกษาฯ โดยอนุโลม เว้นแต่ในพระราชบัญญัตินี้จะบัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น |
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและ กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มีผลบังคับใช้ต่อไป |
มาตรา 8 กระทรวงการอุดมศึกษาฯ มีส่วนราชการ ดังต่อไปนี้
|
พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ใช้เป็นระเบียบ บริหารราชการตามกฎหมาย ต่อไปจนกว่าจะมีการ เปลี่ยนแปลงกฎหมาย |
มาตรา 10 และมาตรา 11 กำหนดอำนาจหน้าที่ของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ บริหารงานทั่วไป และ (7) เสนอจัดตั้ง ยุบ รวม ปรับปรุง และเลิก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐฯ (9) เสนอแนะให้สภาสถาบันฯ ดำเนินการตามหลักการอุดมศึกษาฯ (10) วินิจฉัยสั่งการเพื่อยับยั้งหรือยุติการดำเนินการของ สถาบันอุดมศึกษาฯ โดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการการอุดมศึกษา
|
รมต. และคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายในการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับการ ดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา |
มาตรา 14 อำนาจหน้าที่ของปลัดกระทรวงฯ และคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงฯ |
คูรสมบัติของปลัดกระทรวงฯ เป็นหรือเคยเป็น อธิการบดี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ เป็นหรือเคยเป็นรอง อธิการบดี คณบดี รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ที่มี ประสบการณ์ด้านการบริหารงานในระดับสูงในสำนักงาน ปลัดกระทรวงฯ มีคุณสมบัติเป็นปลัดกระทรวงฯ |
มาตรา 15 หน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการ อุดมศึกษาฯ นอกจาหน้าที่โดยทั่วไปแล้ว ยังมีหน้าที่ ประสานและส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงาน ร่วมกับ ทปอ. ทปอ.มรภ. ทปอ.มทร. และสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ทำแผนและฐานข้อมูลการ ผลิตบัณฑิตฯ จัดสรรทุนให้แก่สถาบันอุดมศึกษา บริหารกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา ฯลฯ |
ประสานความร่วมมือในการดำเนินงานและการจัดทำ ฐานข้อมูลกับสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ซึ่งจะแทนที่ สกอ. |
มาตรา 16 ระเบียบปฏิบัติราชการหรือระเบียบ ปฏิบัติงานของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในสังกัดของ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่า ด้วยการนั้น |
ใช้ระเบียบปฏิบัติราชการหรือระเบียบปฏิบัติงานของ มจษ. ในการดำเนินงานต่อไป จนกว่าจะมีการ เปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายของสถาบันฯ |
มาตรา 18 กระทรวงการอุดมศึกษาฯ อาจขอให้สภา วิชาชีพถือว่าหลักสูตรใดของสถาบันอุดมศึกษาฯ ที่ ผ่านความเห็นชอบของกระทรวงแล้วย่อมได้รับการ รับรองโดยปริยายจากสภาวิชาชีพนั้น |
หลักสูตรอาจได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพโดยปริยาย หากกระทรวงฯ เห็นชอบและสภาวิชาชีพยินยอม |
มาตรา 26 รมต. มีหน้าที่กำกับดูแลโดยทั่วไปซึ่ง กิจการของสถาบันอุดมศึกษาฯ ในกรณีที่มีปัญหาใน การดำเนินกิจการของสถาบันอุดมศึกษาฯ ให้ รมต. แจ้งสภาสถาบันดำเนินการแก้ไข หากสภาไม่ ดำเนินการหรือดำเนินล่าช้าเกินสมควร หรือไม่ สามารถแก้ไขปัญหาได้ ให้ รมต. ขอความเห็นชอบการ ดำเนินการแก้ไขจากคณะรัฐมนตรี |
รมต. กำกับสถาบันอุดมศึกษาผ่านสภาสถาบันอุดมศึกษา และเสนอให้คณะ รมต . พิจารณาสั่งการการดำเนินงาน ยุติการดำเนินงานของสถาบันฯ |
2.3 พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. ....
ข้อกฎหมาย |
ความเชื่อมโยงกับ มจษ. |
เหตุผลเพื่อกำหนดหลักการในการจัดการอุดมศึกษาที่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการจัดการการอุดมศึกษาอย่างมีเอกภาพ หลักการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาให้มีความ เหมาะสมและตอบสนองต่อความหลากหลายขอสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้ การจัดการการอุดมศึกษาและพัฒนาคุณภาพบุคลากรของประเทศให้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญใน การส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาล และสามารถเป็นกำลังสำคัญต่อการสร้าง นวัตกรรมใหม่ให้แก่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายฯ |
ปรับบทบาทในการขับเคลื่อน ประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล และสามารถเป็นกำลังสำคัญต่อการสร้างนวัตกรรมใหม่ให้แก่กลุ่ม อุตสาหกรรมเป้าหมายฯ |
มาตรา 4 การอุดมศึกษา หมายความว่าการศึกษาในระดับสูงกว่าการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างองค์ความรู้ ผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง |
มุ่งเน้นการดำเนินการตามนิยาม การ อุดมศึกษา |
มาตรา 6 การจัดการอุดมศึกษาต้อง พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความ เชี่ยวชาญฯ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันระดับโลก พัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ ทักษะที่จำเป็นฯ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาชาติ และ แผนการอุดมศึกษา และต้องเชื่อมโยงกับการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าฯ สร้างทักษะในการประกอบการอาชีพของบุคคลและการศึกษาตลอดชีวิต |
จัดอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาชาติ และแผนการอุดมศึกษา และต้องเชื่อมโยงกับ การศึกษาในระดับที่ต่ำกว่าฯ สร้าง ทักษะในการประกอบการอาชีพของบุคคลและการศึกษาตลอดชีวิต |
มาตรา 7 รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรทางการศึกษาให้ เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของสถาบันอุดมศึกษาฯ สถาบันอุดมศึกษาพึงจัดสรรงบประมาณเงินรายได้ของ สถาบันอุดมศึกษานั้นเพื่อบริหารงานสถาบันอุดมศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนาคุณภาพของการผลิตบัณฑิตและการวิจัย และนวัตกรรม |
ปรับระบการจัดสรร การบริหารงบประมาณ เพื่อบริหารงาน สถาบันอุดมศึกษาอย่างมี ประสิทธิภาพรวมถึงการพัฒนา คุณภาพของการผลิตบัณฑิตและการ วิจัยและนวัตกรรม |
มาตรา 8 มาตรา 9 หลักสำคัญของการจัดการอุดมศึกษาคือ (1) หลักความ รับผิดชอบต่อสังคม (2) หลักเสรีภาพทางวิชาการ (3) หลักความเป็นอิสระ (4) หลักความเสมอภาค (5) หลักธรรมาภิบาล รมต.กำหนดแนวปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าว ให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งเปิดเผยผล การดำเนินการตามแนวปฏิบัติให้ประชาชนทราบเป็นระยะ |
ใช้หลักการจัดการอุดมศึกษา ตามที่กำหนดในกฎหมายเพื่อการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา |
มาตรา 10 ชุมชน สังคม มีสิทธิติดตามและตรวจสอบสถาบันอุดมศึกษา ตามหลักเกณฑ์ฯ ที่ รมต. ประกาศ กกหนด |
ปรับตัวเพื่อรับการติดตามตรวจสอบ โดยชุมชน และสังคม |
มาตรา 11 สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา จัดให้มี การวิจัย และการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อการ พัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ ให้บริการทางวิชาการหรือทางอื่นใด อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวม และ เผยแพร่องค์ความรู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการในเรื่องต่าง ๆ ต่อสาธารณะ สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดวิชาบังคับในหลักสูตรเพื่อให้นิสิตหรือนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาได้เข้าถึงและมีส่วนร่วมใน การพัฒนาชุมชน สังคมชนบท และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อสร้าง สำนึกรับผิดชอบฯ |
มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชน สังคม และ ประเทศชาติโดยรวม ต้องจัดวิชาบังคับในหลักสูตรเพื่อให้นิสิตหรือ นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ของสถาบันอุดมศึกษาได้เข้าถึงและมี ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม ชนบท และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทาง สังคม เพื่อสร้างสำนึกรับผิดชอบฯ |
มาตรา 12 บุคลากรสายวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาย่อมมีเสรีภาพทาง วิชาการ เสรีภาพในการสอน และการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการตาม หลักวิชาการ |
ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ ของบุคลากรสายวิชาการใน การมี เสรีภาพในทางวิชาการอย่าง เหมาะสม |
มาตรา 13 การแสดงความคิดเห็นทางวิชาการฯ ย่อมได้รับความคุ้มครองฯ |
เตรียม การเพื่อวางระบบคุ้มครอง เสรีภาพทางวิชาการ |
มาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 หลักความเป็นอิสระ สถาบันอุดมศึกษา บริหารตามกฎหมายจัดตั้งสถาบัน การกำกับสถาบันอุดมศึกษาทำได้เท่าที่ จำเป็น ที่กำหนดในกฎหมายฯ การบริหารต้องไม่ถูกครอบงำจาก องค์กร ทางการเมือง กลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่มอิทธิพลอื่น |
บริหารตามกฎหมายจัดตั้งสถาบัน ต้องไม่ถูกครอบงำจากองค์กรทาง การเมือง กลุ่มธุรกิจ หรือกลุ่ม อิทธิพลอื่น |
มาตรา 22 สถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดพันธกิจที่มีต่อนิสิตและนักศึกษา ต่อสังคม และต่อประเทศโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม และเผยแพร่ต่อ สาธารณะฯ |
สร้างความชัดเจนในการกำหนดพันธ กิจที่มีต่อนิสิตและนักศึกษา ต่อ สังคม และต่อประเทศโดยรวมอย่างเป็นรูปธรรม และเผยแพร่ต่อ สาธารณะฯ |
มาตรา 23 สถาบันอุดมศึกษาต้องเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลการ ดำเนินงานของสถาบันฯ แก่สาธารณะ ฯ |
ต้องเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผล การดำเนินงานของสถาบันฯ |
มาตรา 24 การกำหนดประเภทของสถาบันอุดมศึกษา ให้ รมต.ประกาศ กำหนดกลุ่มยุทธศาสตร์ของสถาบันโดยแบ่งตามพันธกิจ ศักยภาพ คุณภาพ หรือจุดมุ่งหมายของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการสนับสนุน ส่งเสริม ประเมินคุณภาพ ควบคุม หรือกำกับดูแลฯ |
ต้องกำหนดกลุ่มยุทธศาสตร์ของ สถาบันอย่างชัดเจน และมุ่ง เป้าหมายการดำเนินงานตาม ยุทธศาสตร์ที่กำหนด |
มาตรา 25 รัฐพึงสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการฯ เปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ทั้งนี้ตามเจตนารมณ์ ของสถาบันอุดมศึกษานั้น |
เตรียมการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับ |
มาตรา 26 ให้มีคณะกรรมการการอุดมศึกษา |
สนับสนุน นายกสภาสถาบัน และผู้ เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี เพื่อเป็น คณะกรรมการการอุดมศึกษา |
มาตรา 29 หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการการอุดมศึกษา การใช้ อำนาจของคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ ความ หลากหลายและสถานภาพของแต่ละสาขาวิชาและแต่ละสถาบันอุดมศึกษา ด้วย |
มีส่วนในการเสนอความเห็น ให้ ข้อมูล ต่อคณะกรรมการการ อุดมศึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ การบริหารการอุดมศึกษา |
มาตรา 30 การกำหนดหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพภายนอกฯ การประเมินคุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับให้ถือว่า การประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินตามที่กฎหมายกำหนด ให้เผยแพร่ผล การประเมินต่อสาธารณชนฯ |
เตรียมการรับการตรวจประเมิน คุณภาพจากหน่วยงานที่ได้รับการ ยอมรับ |
มาตรา 34 ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาจัดให้มีการประชุมร่วมกับผู้แทนของที่ประชุม ทปอ. ทปอ.มรภ. ทปอ.มทร. และสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง |
มีส่วนในการเสนอความเห็นผ่าน ทปอ.มรภ. ในส่วนที่เกี่ยวข้อง |
มาตรา 35 ในกรณีที่ที่ประชุม ทปอ. ทปอ.มรภ. ทปอ.มทร. และสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ เห็นว่าการ ใช้อำนาจของคณะกรรมการการ อุดมศึกษาไม่ถูกต้องฯ อาจเสนอความเห็นฯ เพื่อให้ทบทวนการใช้อำนาจ ได้ |
เสนอความเห็นผ่าน ทปอ.มรภ. เกี่ยวกับการใช้อำนาจของ คณะกรรมการการอุดมศึกษา |
มาตรา 37 หน้าที่และอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา คือจัดการศึกษา การ วิจัยและสร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม และมีอำนาจและหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด การ ดำเนินการตามอำนาจหน้า ที่ต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ฯลฯ การส่งเสริม ให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ให้กับประเทศ การพัฒนา กำลังคนของประเทศ และการจัดการศึกษาตลอดชีวิตฯ |
เพิ่มบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการ รายใหม่ให้กับประเทศ การพัฒนา กำลังคนของประเทศ และการจัด การศึกษาตลอดชีวิต ฯ |
มาตรา 38 สถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการให้คณาจารย์และบุคลากร มี ความรู้เท่าทันความก้าวหน้าทางวิชาการในโลก พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยให้ทันสมัยสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ ความ เปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม และส่งเสริมและสนับสนุนการ ผลิตผลงาน ทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ |
ระบบการบริหารและการพัฒนา บุคคลากรในสถาบันอุดมศึกษาต้อง ตอบสนองตามเจตนารมณ์ที่ กฎหมายกำหนด |
มาตรา 38 จัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพของบุคคล พัฒนาวิชาชีพหรือทักษะอาชีวะชั้นสูง และการ ค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเพื่อพัฒนาสังคม
|
ปรับหลักสูตร กระบวนการเรียนการ สอนให้สอดคล้องตามที่กฎหมาย กำหนด ไม่ดำเนินการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นหารายได้ให้แก่ สถาบันอุดมศึกษาเป็นหลัก |
มาตรา 40 การจัดการเรียนการสอน มีวิธีการที่หลากหลาย ให้มีการ บรรยายเท่าที่จำเป็น และเน้นการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดย การปฏิบัติงานจริงเป็นหลัก |
เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติงานจริง เป็นหลัก |
มาตรา 43 สถาบันอุดมศึกษาพึงสร้างความร่วมมือกับองค์กรภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนฯ โดยการ ปฏิบัติงานจริง |
สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ องค์กรภาคเอกชนและ ภาคอุตสาหกรรมอย่างจริงจังในการจัดการเรียนการสอนฯ โดยการ ปฏิบัติงานจริง |
มาตรา 44 การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมต้องสอดคล้องกับความต้องการ และความจำเป็นของประเทศฯ |
กำหนดการวิจัยและการสร้าง นวัตกรรมที่สอดคล้องกับความ ต้องการและความจำเป็นของ ประเทศฯ |
มาตรา 47 สถาบันอุดมศึกษาสนับสนุนการแลกเปลี่ยนบุคลากร การจัดตั้ง กลุ่มวิจัยร่วม การแปลงผลงานวิจัยให้เป็นรูปธรรม ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษากับภาคเอกชน สถาบันอุดมศึกษาอาจตั้งนิติบุคคลหรือ ร่วมลงทุนกับเอกชนเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ ผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ฯ |
ปรับระบบการวิจัยและการสร้าง นวัตกรรม ตลอดจนการนำไปใช้ ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม |
มาตรา 48 สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการให้บริการทางวิชาการและ วิชาชีพฯ แก่สังคมภายนอกฯ |
มุ่งเน้นบทบาท หน้าที่ในการ ให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพฯ แก่สังคมภายนอกฯ |
มาตรา 49 สถาบันอุดมศึกษาฯ ต้องร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษานั้นหรือพื้นที่อื่นตามที่ เห็นสมควร |
มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ |
มาตรา 52 มาตรา 53 รมต. เป็นผู้มีอำนาจหลักในการกำหนดนโยบายฯ การใช้อำนาจของ รมต. ใช้อำนาจ ผ่านสภาสถาบันฯ |
ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กร ตามกฎหมาย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
มาตรา 57 สถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วยองค์กรอย่างน้อยดังนี้ (1) สภา สถาบัน (2) คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ (3) คณะผู้บริหารสถาบันฯ (4) สภาวิชาการฯ และให้มี สภาอาจารย์และสภาเจ้าหน้าที่ฯ |
ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กร ตามกฎหมาย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
มาตรา 60 การแบ่งส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาอย่างน้อยต้องมี สำนักงานสภา สำนักงานสถาบันฯ คณะและวิทยาลัย สถาบัน และ สำนัก |
ปรับโครงสร้างหน่วยงานภายในและ ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ส่วนงานภายใน |
มาตรา 61 จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถาบันฯ |
วางระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในให้สอดคล้องตามที่ กฎหมายกำหนด |
มาตรา 62 สถาบันอุดมศึกษาต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการนำ ความรู้ ผลงานวิจัย หรือนวัตกรรม ไปใช้ประโยชน์อย่าง กว้างขวาง และใช้ ในการสร้างผู้ประกอบการใหม่ให้กับประเทศ กำหนดมาตรการใดๆ เพื่อ สนับสนุนการดำเนินการให้มีผู้ประกอบการใหม่ รวมถึงการตั้งกองทุนด้าน การเงินเพื่อการประกอบธุรกิจใหม่ รวมดำเนินการกับผู้ประกอบการ หรือ ดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการ รายได้จากการ ดังกล่าว ไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน |
เพิ่มบทบาทของสถาบันอุดมศึกษา ในการส่งเสริม พัฒนาและให้มี ผู้ประกอบการใหม่ ตลอดจนการ เตรียมการในฐานะผู้ประกอบการ ผู้ ร่วมประการ หรือผู้ร่วมลงทุนกับ ผู้ประกอบการ |
มาตรา 69 ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษาในลักษณะเงิน อุดหนุนทั่วไป โดยให้มีอิสระในการบริหารฯ |
เตรียมวางระบบบริหารงบประมาณ ตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนด |
มาตรา 70 รัฐอาจพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่ สถาบันอุดมศึกษาที่สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฯ ตามกลุ่ม ยุทธศาสตร์สถาบันนั้น และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติฯ |
วางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน ตามกลุ่มยุทธศาสตร์สถาบันให้มี ประสิทธิภาพ เพื่อรับการจัดสรร งบประมาณเพิ่มเติม |
มาตรา 72 ให้สถาบันอุดมศึกษา มีอำนาจการจัดหาผลประโยชน์จาก ทรัพย์สินของสถาบันอุดมศึกษานั้น บรรดารายได้และผลประโยชน์ฯ ไม่ เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังฯ |
เตรียมระบบการจัดหารายได้และ ผลประโยชน์ของสถาบันอุดมศึกษา |
มาตรา 75 ให้มี “กองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน สำหรับสนับสนุนการพัฒนาการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาฯ |
แสวงหาแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาได้รับประโยชน์ จาก “กองทุน เพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา” |
มาตรา 79 รมต. มีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแล สถาบันอุดมศึกษา ใช้อำนาจผ่านสภาสถาบันฯ และเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้ สถาบันอุดมศึกษา ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ |
ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่องค์กร ตามกฎหมาย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
มาตรา 82 บทเฉพาะกาล ให้ใช้บังคับกฎหมายที่มีอยู่ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือ แย้งกับ พ.ร.บ. นี้ จนกว่าจะมีการแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ แต่ต้องไม่ เกินสองปี |
ทำความเข้าใจ ติดตาม ศึกษาข้อ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในช่วงการ เปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด |
2.4 พระราชบัญญัติการวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ....
ข้อกฎหมาย |
ความเชื่อมโยงกับ มจษ. |
เหตุผลเพื่อให้ภารกิจในการจัดทำและบริหารนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย และนวัตกรรมให้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการกำกับ ติดตาม ประเมินผลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
การดำเนินงานด้านการวิจัยและสร้าง นวัตกรรม ต้องดำเนินการให้ สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด |
มาตรา 3 ยกเลิก พ.ร.บ.สภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2502 พ.ร.บ.สภาวิจัย แห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2507 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 315 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 62/2559 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2559 |
กฎหมายยกเลิกการบังคับใช้ |
มาตรา 6 รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม พัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฯ |
ศึกษาติดตามและแสวงหาแนวทางให้ สถาบันอุดมศึกษาได้รับประโยชน์ จากการส่งเสริมจากรัฐ |
มาตรา 7 นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมฯ เชื่อมโยง สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาของประเทศให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกับยุทธศาสตร์ชาติ ฯลฯ |
การดำเนินงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมต้องเชื่อมโยงสอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาของประเทศ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับ ยุทธศาสตร์ชาติ ฯลฯ |
มาตรา 8 เพื่อบูรณาการและขับเคลื่อนระบบวิจัยฯ ให้มีหน่วยงานในระบบ วิจัยและนวัตกรรมดังนี้ หน่วยงานระดับนโยบายฯ หน่วยงานด้านทุนฯ หน่วยงานด้านการทำวิจัยฯ และหน่วยงานด้านสนับสนุนการวิจัยฯ |
สถาบันอุดมศึกษาเป็นหน่วยงานด้าน การทำวิจัยฯ |
มาตรา 12 ให้มีสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติฯ |
ติดตามนโยบายด้านการวิจัยและ นวัตกรรมแห่งชาติ |
มาตรา 15 อำนาจหน้าที่ของสภานโยบายวิจัยฯ |
มีส่วนในการเสนอความเห็นต่อการ กำหนดนโยบายฯ |
มาตรา 20 ให้มีสำนักงานรับผิดชอบงานวิชาการและงานธุรการของสภาฯ |
ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง |
มาตรา 33 ให้หน่วยงานรัฐที่ขอใช้งบประมาณ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยฯ เสนอแผนงานให้สอดคล้องกับนโยบายฯ |
จัดทำแผนงานเพื่อรับการสนับสนุน ง[ประมาณวิจัยตามที่กำหนด |
มาตรา 34 มิให้นำบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ มาบังคับใช้กับ การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวกับการวิจัยตาม พ.ร.บ.นี้ และให้ ครม. กำหนด ระเบียบฯ เป็นการเฉพาะฯ |
ศึกษาระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการ จัดซื้อจัดจ้าง ด้านการวิจัยและ นวัตกรรมตามที่ ครม.กำหนด |
มาตรา 35 ส่งเสริม สนับสนุน สร้างแรงจูงใจ บุคลากรด้านการวิจัยฯ เช่น งบประมาณ ปรับกฎหมาย ระเบียบ ส่งเสริมการทำวิจัยร่วมภาคเอกชน ส่งเสริม สนับสนุนให้วิจัยต่างประเทศ แบ่งผลประโยชน์จากการวิจัยฯ ดึง บุคคลที่มิใช่สัญญาชาติไทยมาร่วมวิจัยฯ ส่งเสริมเด็ก เยาวชนที่มีความ สามารถพิเศษฯ |
เตรียมการบุคลากร สถาบันอุดมศึกษาให้พร้อมในการ วิจัยและปฏิบัติให้สอดคล้องกับ กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง |
มาตรา 38 ให้สถาบันอุดมศึกษาให้ข้อมูลการวิจัย และวิทยานิพนธ์ต่อ สำนักงานฯ |
เตรียมระบบการจัดเก็บ รวบรวม ข้อมูลการวิจัย และวิทยานิพนธ์ ตามที่กฎหมายกำหนด |
3. ข้อเสนอแนะเพื่อรองรับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
จากการวิเคราะห์กฎหมาย ความเชื่อมโยงการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มีข้อเสนอแนะเพื่อรองรับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยควรติดตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน ในการจัดตั้งกระทรวงฯ อย่างใกล้ชิด โดยมอบหมายให้ส่วนงานนิติกร นำเสนอบทสรุป บทวิเคราะห์ และข้อมูลข่าวสาร ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และสภามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
2. มหาวิทยาลัยควรนำยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูปประเทศ ฯลฯ มากกำหนดบทบาท ทิศทางของมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง ควรกำหนดความเชี่ยวชาญ จุดเน้นของ มหาวิทยาลัยในการที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เป็นรูปธรรม เนื่องจากเจตนาณมณ์ของการ ตั้งกระทรวงใหม่ มีความชัดเจนอย่างยิ่งในการที่จะใช้กระทรวงการอุดมศึกษาฯ เป็นกลไกสำคัญใน การขับเคลื่อนประเทศ
3. มหาวิทยาลัยควรเตรียมการในการปรับโครงสร้างการบริหารงาน หน่วยงานให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ที่เอื้อให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการพร้อมทั้งทำความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ ของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องภายในสถาบันตามที่กกฎหมายกำหนด
4. มหาวิทยาลัยควรเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงบทบาท หน้าที่ การปฏิบัติงานให้ สอดคล้องกับความมุ่งเน้นของสถาบันในการเป็นอุดมศึกษาตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในด้านการ จัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวิจัยและสร้างนวัตกรรม การบริการวิชาการ ฯลฯ
5. มหาวิทยาลัยควรเตรียมการในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม สถาน ประกอบการในการร่วมพัฒนาการเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการสร้าง ผู้ประกอบการ
6. มหาวิทยาลัยควรเตรียมความพร้อมสำหรับบทบาทใหม่ตามที่กฎหมากำหนดในเรื่องการสร้าง ผู้ประกอบการ การร่วมลงทุน การวิจัยเพื่อนำประโยชน์สู่การพาณิชย์ และการจัดหาทรัพย์สิน รายได้ สิทธิประโยชน์ขอบสถาบันอุดมศึกษา
7.มหาวิทยาลัยควรศึกษา เตรียมการ การเปลี่ยนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับ
หมายเหตุ
1. เป็นการวิเคราะห์จากร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในกระบวนการพิจารณายกร่าง กระบวนการรับ ฟังความคิดเห็น ดังนั้นประเด็นข้อกฎหมายอาจมีการเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก จึงต้องมี การติดตามและทบทวนแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่จะบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะเป็นความเห็นจากการพิจารณาข้อกฎหมายตามตัวอักษรเท่านั้น ไม่ได้ผ่านพิจารณาจาก คณะกรรมการ นักกฎหมาย หรือรับฟังความเห็น จากผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน ทำให้อาจตีความข้อกฎหมาย คลาดเคลื่อนไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมายก็เป็นไปได้ ดังนั้นจะใช้เป็นข้อมูลหรือฐานในการอ้างอิงมิได้
กระทรวงใหม่วิจัย-นวัตกรรม เคลื่อนเศรษฐกิจ New S-curve
เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคมถูกท้าทายด้วยเทคโนโลยี-นวัตกรรม ประกอบกับ “วาระปฏิรูป” ที่ถูกรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ชูธงเป็น “วาระแห่งชาติ” จึงมีแนวคิดการจัดตั้ง “กระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม” ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 มีมติรับหลักการเพื่อยกเครื่องระบบการศึกษา-การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม สู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”
ตอบโจทย์ 10 S-curve เท่าทันโลก
โดยมีหลักการและความจำเป็นต้องแยกการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้สถาบันศึกษาปรับตัวอย่างก้าวกระโดด ผลิตกำลังคนตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม การวิจัย พัฒนาและสร้างนวัตกรรมขั้นสูงเพื่อตอบโจทย์ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายและหลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือการเตรียมความพร้อมประเทศสู่ศตวรรษที่ 21 ตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 โดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา ควบคู่ไปกับการพัฒนาคน เปลี่ยนกระบวนทัศน์และโมเดลการขับเคลื่อนประเทศ (game changing)
หน้าที่และอำนาจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรม คือ การส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก มีความเป็นอิสระในทางวิชาการ วางแผน ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
“บิ๊กตู่” ประธาน “ซูเปอร์บอร์ด”
โดยมีกลไกการกำกับดูแลและการบริหารงาน ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการระดับชาติ (super board) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กำหนดนโยบาย การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
2.คณะกรรมการระดับกระทรวง แบ่งออกเป็นคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนนโยบายของคณะกรรมการระดับชาติไปสู่การปฏิบัติ
ดำเนินภารกิจ 2 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ กลุ่มภารกิจที่ 1 กลุ่มนโยบายและจัดสรรทุน เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ วางแผนอนาคต ทำแผนแม่บทอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ การวิจัย นวัตกรรมและการพัฒนากำลังคน จัดทำแผนการลงทุนและจัดสรรทุนวิจัย
ผลิตบัณฑิต-สร้างศักยภาพผู้ประกอบการ
กลุ่มภารกิจที่ 2 กลุ่มปฏิบัติการ แบ่งออกเป็นด้านการอุดมศึกษา บทบาทหลัก การผลิตบัณฑิตศึกษาหรือสูงกว่า และบุคลากรวิจัยที่ตรงกับความต้องการของตลาด และสร้างศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่ศตวรรษที่ 21ทำการวิจัยในระดับต่าง ๆ อาทิ การวิจัยพื้นฐาน รวมทั้งดำเนินงานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม
ตั้ง สนง.วิจัยสังคม-มนุษยศาสตร์
สำหรับโครงสร้างกระทรวง ได้แก่ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมวิทยาศาสตร์บริการ (เปลี่ยนสถานะเป็นองค์การมหาชน ภายใน 3 ปี) สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (โอนไปสังกัดกระทรวงอื่นที่เหมาะสม ภายใน 3 ปี) และสำนักงานส่งเสริมการวิจัยสังคมและมนุษยศาสตร์ (ส่วนราชการจัดตั้งใหม่ ก่อนเปลี่ยนสถานะเป็นองค์การมหาชน ภายใน 3 ปี)
โดยจะมีการปรับปรุงหน้าที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้เป็นองค์กรจัดสรรเงินทุนด้านอุดมศึกษา วิจัยและนวัตกรรมปรับบทบาทภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้ทำหน้าที่เป็นคลังสมอง (think tank) ศึกษารูปแบบที่เหมาะสมขององค์การมหาชนที่เกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อจัดตั้งเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (National S&T Infrastructure) ภายใน 3 ปี
ควบรวมมหาวิทยาลัย 157-สถาบันวิจัย 13 แห่ง
ทั้งนี้ จะมีการปรับรวมหน่วยงานภายใต้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเข้ามารวมอยู่ในสังกัดกระทรวง ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษา 157 แห่ง แบ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 10 แห่ง มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 26 แห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 73 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง วิทยาลัยชุมชน 1 แห่ง และองค์การมหาชน 11 แห่ง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) เป็นต้น
นอกจากนี้ มีรัฐวิสาหกิจ 2 แห่งได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
ไทม์ไลน์กระทรวงใหม่
แผนการดำเนินการจัดตั้งกระทรวง แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่…) พ.ศ. … ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2561
ระยะที่ 2 วางระบบ พัฒนากระบวนงานและจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการและอัตรากำลัง ภายในเดือนมกราคม 2562 โดยจะเห็นเป็นรูปธรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ระยะที่ 3 ปรับโครงสร้างส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี
Early retirement รับองค์การมหาชน
คณะกรรมการระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานควรมีองค์ประกอบของคณะกรรมการเป็นรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิเท่าที่จำเป็น และควรให้มีกรรมการเต็มเวลา การบริหารจัดการส่วนราชการที่อาจแปรสภาพเป็นองค์การมหาชนในอนาคต อาจมีเหตุผลสำคัญที่จะต้องรอเวลาให้ข้าราชการบางส่วนทยอยเกษียณอายุ ดังนั้น ควรนำระบบการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด (early retirement) มาใช้
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์